ความรู้ Magento ในไทย
Basic Tutorials

วิธีเพิ่มสินค้าแบบ Simple products

หลังจากที่สร้าง Category และ Attribute และจัดการ Attribute Sets เสร็จแล้ว ในบทนี้จะสอนวิธีการเพิ่มสินค้าให้ร้านค้าที่ทำจาก Magento เนื้อหาส่วนนี้เยอะมาก เพราะ Magento สามารถ ลงสินค้าได้หลากหลาย ตามลักษณะของสินค้า จึงขอกล่าวถึงการเพิ่มสินค้าแบบ Simple products ก่อนนะคะ

วิธีเพิ่มสินค้าแบบสินค้าอย่างง่าย (Simple products)

1. เข้าสู่ระบบหลังร้านแล้วไปที่ Catalog (รายการสินค้า) –> Manage Products (จัดการสินค้า)

2. คลิกปุ่ม “Add Product” ที่มุมขวาบน

3. เลือกชุดคุณลักษณะ (Attribute Set) ตามลักษณะสินค้า ที่เราได้สร้างไว้ก่อนที่จะ add สินค้า
***ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องการสร้าง Attribute และ Attribute Set ให้ไปอ่านบทความและดู VDO ตามลิงค์นี้ก่อนค่ะ http://www.nu2day.com/attribute/

และเลือกประเภทสินค้าเป็น “สินค้าอย่างง่าย” และ คลิก “ดำเนินการต่อ” ดังรูป

4. ลงรายละเอียดสินค้า (ช่องที่มีดอกจันสีแดงเป็นช่องที่จำเป็นต้องใส่ข้อมูล ให้กรอกรายละเอียดทุกช่องค่ะ)

  • กรอกชื่อสินค้า
  • กรอก URL ของสินค้า (กรอกเป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีช่องว่างค่ะ แทนช่องว่างด้วยขีด ( – ) กรณีที่ต้องการทำ URL ให้ Friendly SEO ค่อยเปลี่ยนทีหลังค่ะ)
  • เลือกสถานะของสินค้า เป็น “เปิดการใช้งาน”
  • กรอกรหัสสินค้า
  • กรอกรายละเอียดสินค้าอย่างย่อ
  • กรอกรายละเอียดสินค้า
  • กรอกน้ำหนักของสินค้า (กรณีที่ไม่ต้องการกรอกน้ำหนักสินค้า ให้ไปเปลี่ยนค่าใน Attribute “weight” ให้ไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูล จึงจะบันทึกข้อมูลได้ถึงแม้จะไม่กรอกข้อมูลค่ะ)
  • ช่อง Set Product as New from Date และ Set Product as New to Date คือต้องการให้สินค้าโชว์เป็นสินค้ามาใหม่จากวันไหนถึงวันไหน
  • ช่องการมองเห็น (Visibility) ให้เลือก “รายการสินค้า, ค้นหา”

5. ราคา : ให้กรอกราคาสินค้าดังนี้ค่ะ

  • ราคา – ให้กรอกราคาสินค้าค่ะ
  • Group Price – กรอกช่องนี้กรณีที่เราต้องการกำหนดราคาสินค้าของสมาชิกต่างกันค่ะ เช่น ราคาสำหรับลูกค้าทั่วไป 159 บาท ราคาสมาชิก 139 บาท ดังรูปค่ะ

  • ราคาพิเศษ – (ถ้าไม่ต้องการลดราคาสินค้าไม่ต้องกรอกช่องนี้ค่ะ) กรณีที่ต้องการลดราคาสินค้าให้กรอกราคาที่ต้องการลดค่ะ และยังสามารถกำหนดได้ด้วยว่าต้องการลดราคาตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน
  • Tier Price – คือการลดราคากรณีที่ซื้อสินค้าหลายชิ้นค่ะ เช่น ซื้อสินค้า 3 ชิ้นขึ้นไป ราคาชิ้นละ 120 บาท, ซื้อสินค้า 6 ชิ้นขึ้นไป ราคาชิ้นละ 100 บาท และยังสามารถกำหนดราคาของกลุ่มลูกค้าได้ด้วยค่ะ ดังรูป

  • คลาสภาษี – เลือกไม่มีค่ะ (กรณีต้องการหักภาษี ต้องไปตั้งค่าที่ ยอดขาย –> ภาษี ก่อนค่ะ)

6. ข้อมูล Meta – ข้อมูล SEO ประกอบด้วย
Meta Title –> ใส่ชื่อสินค้า
เมต้าคีย์เวิร์ด –> ใส่คีย์เวิร์ด (ไม่เกิน 5 คำค่ะ)
รายละเอียด Meta –> ใส่รายละเอียดสินค้าอย่างย่อ

7. Images – ใส่รูปภาพสินค้า รูปสินค้าควรมีสัดส่วนของภาพเท่ากัน เช่น 1 : 1, 2 : 3 เพื่อการแสดงผลหน้าเว็บอย่างสวยงามค่ะ ***อย่าลืมเลือกรูปภาพที่จะแสดงในหน้าเว็บและหน้า Products นะคะ (3 จุดข้างล่างค่ะ) ไม่งั้นรูปจะไม่แสดงค่ะ****

  • จุดแรก Base Images คือ ใช้รูปนี้เป็นรูปหลักในหน้ารายเอียดสินค้า (เป็นรูปใหญ่ที่สุด)
  • Small Images ใช้รูปนี้ในหน้า Catalog สินค้า
  • Thumbnail Images ใช้รูปใน ในหน้า Add to Cart หรือส่วนต่างๆ ของเว็บ เป็นรูปขนาดเล็ก

ปรกติเวลาเราตั้งค่ารูปภาพก็จะเลือกติ๊ก ทั้ง 3 จุด โดยใช้รูปเดียวกันค่ะ ลูกค้าจะได้ไม่สับสน

8. ดีไซน์ – คือ ดีไซน์ในส่วนของหน้า Products ค่ะ

(1) Page Layout เลือก Layout ตามธีมของเรา ถ้าไม่เลือก หน้าดีไซน์จะแสดงตามค่า Default ที่ตั้งไว้ คือ 2 columns with left bar ค่ะ ถ้าไม่ต้องการให้มี Column ซ้าย-ขวา ก็ให้เลือกเป็น 1 Column นะคะ

(2) Display Product Options In คือต้องการให้ตัวเลือกที่เราสร้างขึ้นแสดงผลอย่างไร มี 2 แบบค่ะ

  • Product Info Column คือแสดงผลแบบแถบสั้น ดังรูปค่ะ

  • Block after Info Column คือแสดงผลแบบแถบยาว ดังรูปค่ะ

9. สินค้าที่มีอยู่ในร้าน – ใส่จำนวนสินค้า และ เลือก “ในคลังสินค้า” ดังรูป

10. ประเภท – เลือกประเภทสินค้า (Category)
***เลือก Default Category ทุกครั้งในการ Add สินค้าค่ะ ถ้าไม่เลือกสินค้าจะไม่แสดงหน้าเว็บค่ะ*** สินค้าหนึ่งตัว สามารถอยู่ได้หลาย Catalog ค่ะ
สำหรับบทความและ VDO เรื่องการ Add Category ดูได้จากลิงค์นี้ค่ะ https://magethai.com/add-catalog/

11. สินค้าที่เกี่ยวข้อง (Related Products) จะแสดงที่คอลัมน์ซ้ายหรือขวาของเว็บไซต์
12. สินค้าที่อยากแนะนำ (Up-Sells) จะแสดงที่หน้า Products ข้างล่างสุด ถัดจากรายละเอียดสินค้าค่ะ
13. สินค้าที่อยากแนะนำในหน้าตระกร้าสินค้า (Cross-Sells) จะแสดงที่หน้า Checkout ค่ะ ปรกติเราก็จะเลือกเพียงแค่ 2 ตัวค่ะ

วิธีการเลือกสินค้าที่เกี่ยวข้องและสินค้าที่อยากแนะนำ ดังรูปค่ะ
โดยเลือก Dropdown ช่องแรกเป็น Any แล้วเอาเม้าคลิ๊กในช่องว่างอื่นๆ ตรงหัวตาราง แล้ว Enter 1 ที สินค้าที่เราลงไว้ ก็จะแสดงขึ้นมา ให้เราเลือกสินค้าที่ต้องการได้เลยค่ะ หรือ อาจจะ Search ด้วยรหัสสินค้า, ชื่อสินค้า, ราคา ฯลฯ ก็ได้เช่นกันค่ะ

14. คลิกบันทึกสินค้าก็เรียบร้อย ตัวอย่างหน้า Product ดังรูปค่ะ

บทความโดย : พัชรินทร์
ThaishopDesign

(ห้ามคัดลอกบทความนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต)